Blog

Payments · 7 ตุลาคม 2561

ผ่อน 0 % = ไม่มีการคิดดอกเบี้ยจริงหรือ?

Payments

cover pic

รู้หรือไม่ว่า บัตรเครดิตที่เราถืออยู่ นอกจากสามารถใช้เพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการแทนเงินสดได้แล้ว ยังสามารถใช้ผ่อนสินค้าได้อีกด้วย การผ่อนชำระที่ว่านี้ก็คือการแบ่งยอดชำระเต็มออกเป็นงวดย่อยๆ ให้ผู้ซื้อค่อยๆ แบ่งจ่ายรายเดือน อาจจะ 3 เดือน 6 เดือน 10 เดือน แล้วแต่เงื่อนไขและข้อกำหนดของธนาคารผู้ออกบัตร ในบางครั้งสามารถผ่อนได้นานถึง 36 เดือนเลยก็มี ลองคิดเล่นๆ ดูว่าผ่อนโทรศัพท์มือถือ 3 ปี ตอนซื้อใหม่กริบ ผ่อนยังไม่ทันหมดหนี้ มือถือตัวดีก็ตกไปสองรุ่นแล้ว

ข้อดีของการผ่อนชำระคือจะช่วยลดภาระผู้ซื้อลงไปได้ทำให้รายจ่ายต่อเดือนลดลงไป ไม่ต้องใช้เงินก้อนในคราวเดียว เปลี่ยนจากการชำระค่าสินค้าเต็มจำนวนเป็นการแบ่งจ่ายด้วยยอดที่น้อยลงในแต่ละเดือน การผ่อนชำระมีข้อดีดังกล่าวอยู่ก็จริงแต่จะต้องไม่ลืมด้วยว่าทางสถาบันการเงินที่ทำการออกบัตรก็จะมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยอยู่ด้วย โดยจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากราคาเต็มของสินค้า ตามระยะเวลาที่ผ่อนจ่าย ซึ่งตรงนี้จะเป็นยอดเงินที่เรียกเก็บเพิ่มเติมจากราคาสินค้าจริง

ทุกวันนี้เราจะเห็นร้านค้ามีโปรโมชันผ่อนชำระสินค้าผ่านบัตรเครดิตด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% กันอยู่บ่อยๆ ผู้ซื้อสามารถผ่อนชำระรายเดือนได้เลยโดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มอีก แบบนี้เท่ากับว่าทางธนาคารผู้ออกบัตรไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ยหรือเปล่า?

เรามาทำความเข้าใจรูปแบบของการผ่อนชำระสินค้าและบริการกันก่อน ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ย

ในกรณีนี้ร้านค้าจะมีการแจ้งอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารจะเรียกเก็บตามระยะเวลาที่ผู้ซื้อต้องการผ่อนชำระ โดยอัตราดอกเบี้ยที่คิดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกำหนดของธนาคารผู้ออกบัตร และระยะเวลาที่ผู้ซื้อต้องการผ่อนชำระ

ตัวอย่างเช่น จอห์นซื้อรองเท้าราคา 10,000 บาท และเลือกที่จะผ่อนชำระเป็นเวลา 10 เดือนด้วยอัตราดอกเบี้ย 0.60% ต่อเดือน คิดเป็นดอกเบี้ย 0.60% x 10,000 = 60 บาทต่อเดือน เท่ากับว่าจอห์นจะต้องจ่ายค่ารองเท้าเดือนละ 1,060 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็นเวลาทั้งหมด 10 เดือน

2. ร้านค้าเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ย

ในกรณีที่ร้านค้ารับภาระดอกเบี้ยแทนผู้ซื้อ หรือที่เราคุ้นหูกันว่า "โปรฯ ผ่อน 0%" ธนาคารจะหักดอกเบี้ยออกจากเงินก้อนของร้านค้า และเรียกเก็บค่างวดรายเดือนจากผู้ซื้อเอง

pic1TH

Adidas Predator Accelerator TR - CBLAVK/FTWWHT/RED

จะเห็นได้ว่าในการผ่อนชำระนั้นจะมีการคิดดอกเบี้ยอยู่ เพียงแต่จะเป็นฝ่ายใดที่เป็นผู้รับผิดชอบดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น ทางร้านค้าหรือฝั่งผู้ซื้อ ในบทความนี้เราขอยกตัวอย่างจาก ร้านอาริฟุตบอล หนึ่งในร้านค้าที่เปิดใช้บริการระบบผ่อนชำระกับโอมิเซะอยู่ ทางร้านเลือกที่จะทำเป็นโปรฯ ผ่อนแบบ 0 % คือเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยแทนลูกค้า การทำโปรโมชันแบบนี้จะสามารถช่วยกระตุ้นยอดขายของทางร้านได้ ช่วยให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ไม่มีเรื่องดอกเบี้ยมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาเพิ่มเติม

ในการผ่อนชำระนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นการแบ่งจ่ายจากทางผู้ซื้อแต่ทางร้านค้าจะได้รับยอดชำระเต็มจำนวนทันที โดยธนาคารจะเรียกเก็บค่างวดผ่อนชำระจากผู้ซื้อเอง หากร้านค้าเลือกเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยธนาคารก็จะหักดอกเบี้ยออกจากยอดก้อนใหญ่นี้ก่อนส่งให้ร้านค้า วิธีนี้จะยังทำให้ร้านค้าได้รับเงินก้อนเช่นเดิม แต่เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ซื้อในการแบ่งจ่ายกับธนาคารอีกด้วย เหมาะกับธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการที่มีราคาสูง

เช่น I: ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ย

สินค้าราคา 20,000 บาท ผู้ซื้อเลือกผ่อนชำระ 4 เดือน ร้านค้าจะได้ยอด 20,000 บาทหลังหักภาษีและค่าธรรมเนียมตั้งแต่เดือนแรก ธนาคารจะเรียกเก็บค่างวด 4 เดือนและดอกเบี้ยจากผู้ซื้อเอง

เช่น II: ร้านค้าเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ย

สินค้ายอด 20,000 บาท ผู้ซื้อเลือกผ่อนชำระ 4 เดือน ร้านค้าจะได้ยอด 20,000 บาทหลังหักภาษี ค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนแรก ธนาคารจะเรียกเก็บค่างวด 4 เดือนจากผู้ซื้อเอง

pic2TH

หน้าชำระเงินที่ฝังอยู่ในเว็บไซต์และการผ่อนชำระผ่านธนาคารต่างๆ
บัตรเดบิตผ่อนชำระได้หรือไม่?

คนส่วนใหญ่มีบัตรเดบิต เพราะมักจะได้มาตอนเปิดบัญชีอยู่แล้ว เป็นลูกครึ่งระหว่างบัตรเครดิตกับออนไลน์แบงก์กิ้ง เพราะสามารถใช้ได้เหมือนบัตรเครดิต เพียงแต่ว่ายอดเงินจะถูกตัดจากบัญชีที่บัตรเดบิตผูกไว้ทันทีเหมือนออนไลน์แบงก์กิ้ง แต่มีสิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่า คือในกรณีที่ยกเลิกการซื้อ สามารถคืนเงิน (refund) เข้าบัตรเดบิตได้เลย แต่หากใช้ออนไลน์แบงก์กิ้งแล้วโอนผิด หรือขอคืนยอดเงินจะไม่สามารถทำได้

ทั้งนี้บัตรเดบิตจะไม่สามารถทำผ่อนชำระได้ เนื่องจากเป็นการตัดยอดจากบัตรที่ผูกไว้กับบัญชีโดยตรง วิธีที่สามารถทำได้คือ การตัดเงินอัตโนมัติ (recurring payment) จะเป็นการจำบัตรของผู้ซื้อไว้ เพื่อตัดยอดรายเดือน รายสัปดาห์ หรือตามวันที่กำหนดให้ตัดยอด เหมาะสำหรับธุรกิจที่จำเป็นต้องรับชำระเงินยอดเดิมเป็นประจำซ้ำๆ (subscription model) เช่น ค่าสมาชิกฟิตเนส หรือแพคเกจดูหนังแบบรายเดือน เป็นต้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ระบบตัดเงินอัตโนมัติรายเดือน (recurring payment) ต่างจากการผ่อนชำระอย่างไร?

ในส่วนของระบบตัดเงินแบบรายเดือนร้านค้าจะได้รับยอดเป็นรายเดือน และไม่มีการคิดดอกเบี้ย ตัวอย่างเช่น สมาชิกฟิตเนส 4 เดือนคิดราคา 20,000 บาท ทางฟิตเนส (ร้านค้า) จะได้ยอด 5,000 บาท ทุกๆ เดือนเป็นเวลา 4 เดือน โดยไม่มีดอกเบี้ยเพิ่มเติม แต่หากเป็นการผ่อนชำระ ร้านค้าจะได้รับยอด 20,000 บาทหลังหักภาษี ค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนแรก จากธนาคารผู้ออกบัตรของผู้ซื้อนั่นเอง

หากร้านค้าใดสนใจระบบผ่อนชำระผ่านช่องทางออนไลน์กับโอมิเซะ สามารถเลือกแบ่งชำระได้สูงสุด 36 เดือนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร กำหนดยอดขั้นต่ำ 5,000 บาทต่อรายการ สามารถรวมสินค้าหลายชิ้นได้ ปัจจุบันรองรับบัตรเครดิต 5 ประเภท สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

Supported card brands Installment plans

ร้านค้าออนไลน์สามารถเริ่มต้นรับผ่อนชำระบัตรเครดิตได้ผ่านโอมิเซะง่ายๆ เพียง 2 ขั้นตอน
  1. สมัครใช้งานโอมิเซะที่ https://dashboard.omise.co/signup จากนั้นกรอกข้อมูลและส่งเอกสารเพื่อขอเปิด “โหมดใช้งานจริง” ที่มุมซ้ายบน หรือสามารถติดต่อทีมงานขายของเราได้ที่ด้านล่างนี้ทันที

  2. การติดตั้งระบบของโอมิเซะเข้ากับเว็บไซต์ของร้านค้า สามารถศึกษาขั้นตอนได้ที่คู่มือนี้ หากติดขัดตั้งไหนสามารถติดต่อทีมงาน technical support ของเราได้ทันทีผ่าน support@opn.ooo


More from Opn

เปรียบเทียบ Online Direct Debit vs โมบายแบงก์กิ้ง วิธีการชำระเงินแบบใดที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ

6 ตุลาคม 2567

เปรียบเทียบ Online Direct Debit vs โมบายแบงก์กิ้ง วิธีการชำระเงินแบบใดที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ
แนะนำ Payment Links+ โซลูชันใหม่จาก Opn Payments

29 สิงหาคม 2567

แนะนำ Payment Links+ โซลูชันใหม่จาก Opn Payments
เจาะลึกเบื้องหลังระบบเสถียรแม้ช่วงพีกกับ Director of Infrastructure ของ Opn Payments

30 กรกฎาคม 2567

เจาะลึกเบื้องหลังระบบเสถียรแม้ช่วงพีกกับ Director of Infrastructure ของ Opn Payments

Subscribe to receive the latest updates from Opn

Protected by reCAPTCHA

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อวิเคราะห์การใช้และปรับการใช้งานให้เหมาะกับท่าน เมื่อกดยอมรับหรือเข้าชมเว็บไซต์ต่อ เราถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุกกี้ของเว็บไซต์ อ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว