Banking-as-a-service (BaaS) เป็นโซลูชันที่แบรนด์ระดับโลก ตลอดจนธุรกิจมากมายทั้งในยุโรปและอเมริกา ต่างนำไปปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับคุณภาพประสบการณ์ของลูกค้า รวมถึงช่วยขยายขีดความสามารถให้กับแพลตฟอร์ม ซึ่งในปัจจุบันโซลูชัน BaaS กำลังเข้ามาพลิกโฉมภูมิทัศน์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าและธุรกิจอาจไม่เคยจินตนาการถึงมาก่อน
สำหรับภาพรวมในตลาดโลก ทาง Oliver Wyman คาดการณ์ว่า เทคโนโลยี BaaS จะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถลดต้นทุนในการหาลูกค้า (customer acquisition) จากเดิมอยู่ที่ 100 ถึง 200 เหรียญสหรัฐ อาจลดเหลือเพียง 5 ถึง 35 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่งานวิจัยจาก Finastra ได้แสดงให้เห็นว่า 85% ของผู้บริหารระดับอาวุโสเลือกใช้โซลูชัน BaaS แล้ว หรือมีแผนที่จะเริ่มใช้งานโซลูชัน BaaS ในอีก 18 เดือนข้างหน้า
หากคุณไม่เคยรู้จักเทคโนโลยีที่เรียกว่า Banking-as-a-service หรือ BaaS มาก่อน เราขอสรุปใจความสำคัญหลักๆ เพื่อให้คุณพอเห็นภาพและมีไอเดียเบื้องต้นเกี่ยวกับโซลูชันดังกล่าว ก่อนที่จะเจาะลึกถึงโอกาสความเป็นไปได้ และอนาคตการเติบโตสำหรับธุรกิจต่อไป
โซลูชัน BaaS ช่วยให้ธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ สามารเพิ่มบริการทางการเงินต่างๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน พร้อมเติมเต็มศักยภาพให้ธุรกิจส่งมอบผลิตภัณฑ์ทางการเงินของตนเองได้
สำหรับธุรกิจทั่วไปที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) สามารถใช้ประโยชน์จากโซลูชัน BaaS เพื่อนำเสนอบริการใหม่ๆ เช่น การเพิ่มบริการ Acquiring-as-a-service (ระบบชำระเงินสำหรับร้านค้า) บริการ Issuing-as-a-service (โซลูชันการออกบัตรสำหรับแบรนด์) หรือบริการ PayFac-as-a-service (ระบบบริหารการเงินภายในแพลตฟอร์ม) โดยที่ธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้ทีมภายในหรือทรัพยากรต่างๆ เพื่อลงทุนพัฒนาบริการขึ้นมาเอง
ธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งรายได้ใหม่ๆ โดยให้โซลูชัน BaaS ช่วยจัดการรับมือกับความซับซ้อนของกฎข้อบังคับในการกำกับดูแลต่างๆ เพื่อธุรกิจจะได้โฟกัสไปที่การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า
ในงานวิจัยของ Finastra ยังระบุถึงโอกาสการเติบโตของโซลูชัน BaaS ในอีกหลายปีต่อจากนี้ เช่น บริการทางการเงินที่จุดขายหน้าร้านสำหรับธุรกิจร้านค้าและผู้บริโภค บริการกู้ยืมในแพลตฟอร์ม (embedded lending) สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงบริการด้านการคลังและแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจที่กำลังมองหาโอกาสในการขยายสู่กลุ่มลูกค้าหรือตลาดใหม่ๆ
ธนาคารและสถาบันการเงิน: สถาบันการเงินสามารถใช้โซลูชัน BaaS เพื่อนำเสนอบริการใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้า รวมถึงสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับธุรกิจ ขณะที่ธนาคารก็สามารถใช้โซลูชันดังกล่าว เพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานเดิมให้ทันสมัยขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำดิจิทัลทรานฟอร์มเมชันให้เห็นผลสำเร็จได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์: ธุรกิจประเภท Software-as-a-service (SaaS) สามารถผสานบริการทางการเงินต่างๆ ไว้ในผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ เพื่อยกระดับคุณภาพประสบการณ์ใช้งานที่ราบรื่น พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด และลดปัญหาลูกค้ายกเลิกการใช้บริการ (customer churn)
สตาร์ทอัพฟินเทค: บริษัทสามารถจัดหาโครงสร้างการให้บริการด้านการธนาคาร การชำระเงิน หรือบริการด้านการคลัง เพื่อขยายสู่ตลาดใหม่ๆ โดยไม่จำเป็นต้องขอรับกฎบัตรธนาคาร (bank charter) หรือใบอนุญาตอื่นๆ
มาร์เก็ตเพลสและแพลตฟอร์ม: เพิ่มบริการด้านการเงินไว้ในระบบมาร์เก็ตเพลสและแพลตฟอร์ม เพื่อรองรับความต้องการของทั้งกลุ่มลูกค้าธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภค โดยช่วยให้ลูกค้าของคุณเข้าถึงสินเชื่อ ซื้อกรมธรรม์ หรือรูปแบบการชำระเงินที่ให้ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” (buy-now-pay-later)
→ ติดต่อเราเพื่อเริ่มใช้งานโซลูชัน Banking-as-a-service
จากรายงานของที่ปรึกษาด้านฟินเทคอย่าง 11.FS ระบุว่าโซลูชัน BaaS มีประโยชน์อย่างมากต่อธุรกิจและลูกค้าของพวกเขา เช่น การส่งมอบบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุด แทนที่จะปล่อยให้ลูกค้าของคุณนึกเองเองว่าพวกเขาต้องการอะไร
ปัจจุบันมีแบรนด์ใหญ่ๆ จากยุโรป สหรัฐฯ และในเอเชีย โดยพวกเขาเริ่มนำโซลูชัน BaaS ไปปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า และขยายขีดความสามารถในการให้บริการ ตัวอย่างเช่น:
กรณีของธนาคาร ICICI ในอินเดียที่ได้เชื่อมต่อบริการของธนาคารไว้ใน WhatsApp ส่งผลให้มีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น 1 ล้านคน ภายในไตรมาสที่เปิดตัวบริการ
จากความร่วมมือครั้งล่าสุดกับทาง Accenture ช่วยให้ธนาคารมินนะ (Minna Bank) สามารถเปิดตัวสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว โดยผสานทั้งข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลด้านที่ไม่ใช่การเงิน รวมไว้ในบริการเดียว
ซุเปอร์แอปอย่าง Grab ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จากโซลูชัน BaaS มาอย่างยาวนาน โดยเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ Grab สามารถนำเสนอบริการทางการเงินที่ครอบคลุมความต้องการในตลาดได้มากขึ้น และไม่นานมานี้ก็ได้เปิดตัวดิจิทัลแบงก์กิ้งที่ดำเนินกิจการร่วมกับบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศอย่าง Singtel
ที่สำคัญ ยังมีโอกาสความป็นไปได้อีกมากมายสำหรับแบรนด์ในภูมิภาคเอเชีย หากคุณสนใจใช้ประโยชน์จากโซลูชัน BaaS เพื่อขับเคลื่อนการเติบโต
วิสัยทัศน์ของ Opn ต่อการพัฒนาเทคโนโลยี BaaS คือ การส่งมอบโซลูชันที่บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์และมาร์เก็ตเพลสต่างๆ สามารถนำเสนอประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อให้กับลูกค้า รวมถึงช่วยลดภาระงานและต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ และขั้นตอนการพัฒนาให้เหลือน้อยที่สุด
พวกเราตั้งเป้าในการขับเคลื่อนให้ธนาคาร สตาร์ทอัพฟินเทค และบริษัทผู้พัฒนาซอฟท์แแวร์ต่างๆ สามารถเข้าถึงแหล่งรายได้หรือตลาดใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยช่วยให้บริษัทเหล่านี้สามารถนำโซลูชันการชำระเงิน การออกบัตร และบริการการกู้ยืม รวมไว้ในแพลตฟอร์ม โดยระลึกอยู่เสมอว่าธนาคารหรือบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อาจไม่ต้องการใช้ทุกบริการที่โซลูชัน BaaS มีพร้อมรองรับ
เช่น ผู้ให้บริการสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคารอาจต้องการใช้แค่บริการ Underwriting-as-a-service (การตรวจสอบความเสี่ยงบนแพลตฟอร์ม) หรือในกรณีของมาร์เก็ตเพลสระดับโลกที่มีลูกค้ารายใหม่เริ่มเข้ามาใช้งานจากหลากหลายประเทศ พวกเขาอาจเลือกผสานบริการ Compliance-as-a-service (การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ) ไว้ในแพลตฟอร์ม เพื่อลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ขณะที่ยังคงดำเนินธุรกิจตามข้อกำหนดได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนั้น หากต้องการขยายขีดความสามารถการให้บริการในประเทศที่เหมาะสำหรับการใช้เงินทุนหมุนเวียน การเพิ่มบริการการกู้ยืมไว้ในมาร์เก็ตเพลสอาจเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด เป็นต้น จากตัวอย่างข้างต้นทำให้ Opn มุ่งมั่นในการส่งมอบโซลูชันที่ยืดหยุ่นได้ตามความต้องการใช้งานจริงของธุรกิจ
การปรับใช้โซลูชัน BaaS ยังคงเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ยังมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยให้ผู้นำองค์กร ผู้บริหาร นักพัฒนาและที่ปรึกษาต่างๆ สามารถประเมินได้ว่าโซลูชัน BaaS นั้นตอบโจทย์ความท้าทายที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่หรือไม่ เช่น การลองให้ธุรกิจตอบคำถามเหล่านี้:
คุณกำลังมองหานวัตกรรมที่จะช่วยลดต้นทุนและสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอยู่หรือไม่?
คุณกำลังสนใจยกระดับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันให้สามารถสร้างประสบการณ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละคนโดยเฉพาะ?
คุณต้องการระบบที่พร้อมรับมือกับการทำธุรกรรมจำนวนมากในคราวเดียว และจัดการขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนให้เป็นไปตามกฎระเบียบใช่ไหม?
ธุรกิจของคุณกำลังหาทางลดต้นทุนและภาระงาน ทั้งการต้อนรับลูกค้าใหม่ รักษาฐานลูกค้าเดิม และเพิ่มยอดขาย โดยต้องการระบบที่ใช้งานได้แบบอัตโนมัติใช่หรือไม่?
ถ้าคุณตอบว่า “ใช่” อย่างน้อยหนึ่งข้อ หรือมากกว่านั้น แสดงว่าโซลูชัน BaaS น่าจะเหมาะสำหรับธุรกิจของคุณ และจากประสบการณ์ของ Opn ที่ได้พัฒนาโซลูชันเทคโนโลยีทางการเงินมานานกว่าทศวรรษ ทำให้เรามีโอกาสได้สร้างผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์การชำระเงินใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลาย รวมถึงทำความรู้จักลูกค้า พร้อมส่งมอบบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ โดย Opn ยังมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องกฎระเบียบและข้อบังคับสำหรับธุรกิจในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
6 ตุลาคม 2567
29 สิงหาคม 2567
30 กรกฎาคม 2567
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อวิเคราะห์การใช้และปรับการใช้งานให้เหมาะกับท่าน เมื่อกดยอมรับหรือเข้าชมเว็บไซต์ต่อ เราถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุกกี้ของเว็บไซต์ อ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว