‘โมบายล์คอมเมิร์ซ’ (mobile commerce) กลายเป็นหนึ่งในหัวข้อที่สะเทือนวงการอุตสาหกรรมดิจิทัลทั่วโลก โดยถือเป็นเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงที่จะมีบทบาทสำคัญต่อการทำธุรกิจในอนาคต ตอนนี้จึงเป็นจังหวะที่ดีสำหรับธุรกิจร้านค้าออนไลน์ในไทยที่จะได้เริ่มทำความเข้าใจสภาพตลาด และเตรียมพร้อมวางแผน เพื่อต่อยอดโอกาสการเติบโต
ในปี 2565 พบว่าจำนวนคนที่เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนในไทย คิดเป็น 94% ของคนไทยทั้งหมด และการชำระเงินผ่านมือถือ คิดเป็น 74% ของยอดธุรกรรมทั้งหมดในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย ข้อมูลตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าผ่านช่องทางการซื้อขายบนมือถือ
ดังนั้น หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่ยังไม่เคยรู้จัก ‘โมบายล์คอมเมิร์ซ’ มาก่อน — อย่ารอช้า! เพราะนี่คือวิธีสร้างการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ให้กับธุรกิจออนไลน์ของคุณได้
โมบายล์คอมเมิร์ซ (m-commerce) หมายถึง กระบวนการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านอุปกรณ์พกพาส่วนตัว อย่างเช่น สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถช้อปออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา
การวางกลยุทธ์สำหรับธุรกิจโมบายล์คอมเมิร์ซจะเน้นไปที่การเข้าถึงและสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า รวมทั้งการสร้างเว็บไซต์ที่ง่ายต่อการใช้งานบนมือภือ การพัฒนาโมบายล์แอป และส่งมอบประสบการณ์การชำระเงินแบบไร้รอยต่อ (seamless) ผ่านช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย เช่น ดิจิทัลวอลเล็ท โมบายล์แบงก์กิ้ง เป็นต้น
นอกจากนั้น เพย์เมนต์เกตเวย์ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจโมบายล์คอมเมิร์ซอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคุณสามารถทำความเข้าใจเรื่องเพย์เมนต์เกตเวย์เพิ่มเติมได้ที่บล็อกของเรา
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ธุรกิจโมบายล์คอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็ว นั่นคือ การที่ลูกค้าต้องการความสะดวกสบายในการช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น และมือถือก็เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ เห็นได้จากอัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนของคนไทย ซึ่งมีตัวเลขสูงถึง 94%
ผู้บริโภคชาวไทยกว่า 7 ใน 10 เลือกชำระเงินผ่านมือถือเป็นประจำ เช่น การจ่ายผ่านอีวอลเล็ท และโมบายล์แบงก์กิ้ง นอกจากนั้น ช่องทางการชำระเงินที่เติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างทรูมันนี่วอลเล็ท พร้อมเพย์ และ Google Pay ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงทางเลือกการชำระเงินผ่านมือถือแบบ seamless ที่กำลังครองใจผู้บริโภคชาวไทยในปัจจุบัน
ตัวเลือกการชำระเงินผ่านมือถือส่งผลให้ลูกค้าสามารถจ่ายเงินซื้อสินค้าได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว รวมถึงมีทางเลือกในการชำระเงินเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากเดิมที่จ่ายผ่านบัตรเครดิต/เดบิตเป็นหลัก โดยคุณสามารถศึกษาเทคนิคการเลือกรูปแบบการชำระเงินผ่านมือถือที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณได้ที่นี่
ถ้าคุณต้องการให้ลูกค้าค้นหาสินค้าเจอได้ง่าย และชำระเงินสำเร็จ ปัจจัยเรื่องการออกแบบโมบายล์แอปพลิเคชันและเว็บไซต์ให้เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน ถือเป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขายที่ดี เพราะดีไซน์อินเทอร์เฟสที่ใช้งานง่ายจะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงและปิดการขายให้กับลูกค้าที่อาจไม่ได้เชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยี (tech-savvy) มากนัก
ก่อนหน้านี้ การซื้อขายสินค้าผ่านมือถืออาจเป็นเพียงทางเลือกที่ดูน่าสนใจ แต่ด้วยยอดการทำธุรกรรมผ่านมือถือที่มีสัดส่วนสูงถึง 74% ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ธุรกิจควรปรับกลยุทธ์ให้สามารถสร้างการเติบโตในโมบายล์คอมเมิร์ซ โดยเฉพาะการพัฒนาแพลตฟอร์มให้พร้อมรองรับการใช้งานบนมือถือ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ช้อปผ่านมือถือเป็นหลัก
แพลตฟอร์มที่ทำการซื้อขายผ่านมือถือมีแนวโน้มที่จะสร้างยอดขายได้สูงกว่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั่วไป เห็นได้จากยอดขายของโมบายล์คอมเมิร์ซที่คิดเป็นสัดส่วนกว่า 52% ของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2563 และคาดว่าสัดส่วนจะเพิ่มขึ้นถึง 70% ภายในปี 2568
ดังนั้น ธุรกิจร้านค้าออนไลน์ที่ปรับตัวให้รองรับการซื้อขายผ่านมือถือได้ ย่อมมีโอกาสเพิ่มรายได้และยอดขายได้สำเร็จ
การสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันมือถือ และการส่งข้อความแจ้งเตือนไปที่อุปกรณ์ของผู้ใช้ (push notification) ช่วยให้ธุรกิจร้านค้าในไทยมีช่องทางใหม่ๆ ในการเข้าถึงลูกค้า โดยเฉพาะการแจ้งเตือนเกี่ยวกับโปรโมชันหรือข้อเสนอพิเศษต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอยากมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น
นอกจากนั้น การซื้อขายสินค้าแบบโมบายล์คอมเมิร์ซยังช่วยให้ธุรกิจสามารถส่งมอบบริการที่เฉพาะเจาะจง (personalized) ได้มากขึ้น เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยอิงจากประวัติการค้นหาและการซื้อของลูกค้าที่จัดเก็บในโมบายล์แอปและเว็บไซต์
ปัจจัยสำคัญในการสร้างเว็บไซต์ที่เป็นมิตรต่อการใช้งานบนมือถือ (mobile-friendly) มีอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ การแสดงผลบนหน้าจอมือถือ การโหลดขึ้นหน้าเว็บได้เร็ว และการจัดวางเลย์เอาท์ที่เหมาะกับธรรมชาติการใช้งาน
รวมถึงฟีเจอร์อย่างปุ่มกดเพื่อโทรออก และเมนูการใช้งานเฉพาะมือถือ ซึ่งมีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพประสบการณ์ใช้งานให้ราบรื่น ไม่ว่าลูกค้าจะเปิดใช้เว็บไซต์บนมือถือหรือเดสก์ทอปก็ตาม
ในกรณีที่เพิ่งเปิดตัวแพลตฟอร์ม คุณสามารถใช้เครื่องมือกระตุ้นยอดขายอย่างโปรโมชันหรือส่วนลดพิเศษสำหรับลูกค้าที่ช้อปผ่านมือถือโดยเฉพาะ โดยหลังจากนั้นคุณสามารถใช้เทคนิคดังกล่าว เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ช้อปผ่านโมบายล์แอปอย่างต่อเนื่องได้เช่นกัน
หนึ่งในความท้าทายของธุรกิจ m-commerce คือ อัตราการละทิ้งตะกร้าที่สูง ซึ่งคุณสามารถแก้ไขโดยออกแบบหน้าเช็คเอาท์ให้ชำระเงินได้ง่ายและราบรื่น เพราะขั้นตอนการชำระเงินที่ยุ่งยาก ไม่เพียงกระทบต่อยอดขาย แต่ยังก่อให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยอีกด้วย
หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ลองอ่านเทคนิคช่วยลดปัญหาการละทิ้งตะกร้าสำหรับร้านค้าออนไลน์ได้
อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีและงบประมาณที่ต้องใช้ในการสร้างประสบการณ์ชำระเงินแบบ seamless ถือเป็นโจทย์ที่หนักหนาพอสมควร หากธุรกิจร้านค้าต้องลงมือจัดการปัญหาเหล่านี้เอง ดังนั้น การใช้เพย์เมนต์เกตเวย์จึงเป็นโซลูชันที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถพัฒนากระบวนการชำระเงินบนแพลตฟอร์มโมบายล์คอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และถ้าคุณกำลังมองหาเพย์เมนต์เกตเวย์ที่:
ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
มีขั้นตอนการชำระเงินที่ราบรื่น
ระบบมีเสถียรภาพสูง พร้อมรองรับธุรกรรมช่วงพีค
Opn Payments คือ โซลูชันการรับชำระเงินที่ได้รับความไว้วางใจจากธุรกิจชั้นนำทั่วเอเชีย กว่า 6,000 แห่ง ติดตั้งได้ง่าย ออกแบบสำหรับการใช้งานบนมือถือ พร้อมช่วยให้ธุรกิจร้านค้าส่งมอบประสบการณ์ชำระเงินแบบ seamless ได้
หากคุณสนใจธุรกิจ mobile commerce แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร? ติดต่อเรา เพื่อรับคำแนะนำด้านผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ
6 ตุลาคม 2567
29 สิงหาคม 2567
30 กรกฎาคม 2567
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อวิเคราะห์การใช้และปรับการใช้งานให้เหมาะกับท่าน เมื่อกดยอมรับหรือเข้าชมเว็บไซต์ต่อ เราถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุกกี้ของเว็บไซต์ อ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว