Blog

Payments · 19 กันยายน 2566

เทคโนโลยีการประมวลผลธุรกรรมจะช่วยต่อยอดการเติบโตให้สถาบันการเงินได้อย่างไร?

Payments

BaaS

Acquiring

TH_Acqurring as a service_OG.png

ปัจจุบันคนเอเชียหันมาเลือกใช้บริการดิจิทัลแบงก์กิ้งมากขึ้น ซึ่งจากผลการศึกษาของวีซ่าพบว่า ผู้บริโภคในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพฤติกรรมการชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัล โดยจ่ายผ่านออนไลน์แบงก์กิ้ง (52%) และโมบายล์แบงก์กิ้ง (69%) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

เทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสู่ระบบธนาคารและการชำระเงินแบบดิจิทัล ส่งผลให้ธนาคาร ร้านค้าและธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องหาทางจัดการธุรกรรมในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยกระบวนการทำงานที่รวดเร็ว ประหยัดต้นทุน และปลอดภัยสูงสุด

นอกจากนั้น ในรายงานสรุปเชิงนโยบายของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ฉบับล่าสุด เผยว่าปัจจัยสำคัญอย่างกระแสยุคโลกาภิวัตน์และเทรนด์การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ล้วนเป็นตัวเร่งให้เกิดนวัตกรรมการชำระเงิน ทั้งในรูปแบบของเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในนวัตกรรมการชำระเงินที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ก็คือ เทคโนโลยีการประมวลผลธุรกรรม หรือ Acquiring-as-a-Service นั่นเอง

เทคโนโลยี Acquiring-as-a-Service คืออะไร?

เทคโนโลยีการประมวลผลธุรกรรม หรือ AaaS (Acquiring-as-a-Service) ช่วยให้ธนาคารและธุรกิจต่างๆ สามารถจัดหาทีมผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เพื่อแบ่งเบาภาระงานด้านการพัฒนาและดูแลประสิทธิภาพบริการแก่ผู้รับบัตร (Acquiring) ของธนาคาร โดยนอกจากจะช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลาและทรัพยากรต่างๆ แล้ว ผู้ให้บริการเทคโนโลยี AaaS ยังมีบทบาทในการขับเคลื่อนให้ธนาคารเดินหน้าสร้างการเติบโตผ่านบริการ Acquiring ภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การยืนยันตัวตนลูกค้า (customer onboarding) การประมวลผลธุรกรรม (processing) การสรุปยอดเงิน (settlement) และการกระทบยอดธุรกรรม (reconciliation) เป็นต้น

ความท้าทายในการให้บริการ Acquiring ของธนาคาร

ธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม รวมถึงคู่ค้าในตลาดต่างประเทศของธนาคาร ต่างก็เผชิญกับปัญหาในการพัฒนาระบบรับชำระเงินให้พร้อมส่งมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มของธนาคาร ทั้งในกลุ่มธุรกิจร้านค้าและกลุ่มบุคคลรายย่อย ดังนั้น เทคโนโลยี AaaS จึงมีความสำคัญต่อรูปแบบการให้บริการของธนาคารในอนาคต ด้วยเหตุผลหลักๆ ดังนี้:

เดิมทีผู้ให้บริการ Acquiring จะเป็นธนาคารเสียส่วนใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมา ต่างก็เผชิญความท้าทายในการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ ทั้งในกลุ่มธุรกิจร้านค้าและกลุ่มบุคคลรายย่อย เทคโนโลยี AaaS จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยของผู้ให้บริการ Acquiring ด้วยเหตุผลหลักๆ ดังนี้

  • เทคโนโลยีการชำระเงินในปัจจุบันยังขาดความยืดหยุ่น ท่ามกลางความคาดหวังที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรูปแบบความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า พาร์ทเนอร์ และหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล

  • จากที่บริษัท Capgemini เคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ภาพรวมผู้ให้บริการ Acquiring ในระดับโลกนั้นมีแค่บริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่รายที่ครองตลาดอยู่ สภาพการแข่งขันจึงค่อนข้างคงที่ และส่งผลให้ผู้ให้บริการ Acquiring จำนวนไม่น้อยเลือกยึดติดอยู่กับการใช้เทคโนโลยีแบบเดิมๆ

  • โซลูชันที่ช่วยแก้ปัญหาเชิงเทคนิคให้กับธนาคารและบริษัทฟินเทค ส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยข้อจำกัดการใช้งานที่เข้มงวด และรองรับเฉพาะความต้องการของธุรกิจเก่าแก่ที่อยู่มานานเท่านั้น

ท้ายที่สุดแล้ว ธนาคารยังต้องลงทุนและจัดการงานด้านเทคนิคมากมาย เพื่อจะได้พัฒนาฟีเจอร์และฟังก์ชันที่ตอบสนองความต้องการให้กับธุรกิจร้านค้าเพียงไม่กี่รายที่ใช้บริการ Acquiring และการประมวลผลธุรกรรม

Opn จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้บริการ Acquiring ของธนาคารได้อย่างไร?

แพลตฟอร์ม Acquiring-as-a-Service ของ Opn ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อจัดการกับปัญหาที่ธนาคารต้องเผชิญมาอย่างยาวนาน

1. จัดการทุกขั้นตอนในการให้บริการแก่ผู้รับบัตร

Opn ได้พลิกโฉมบริการ Acquiring ของธนาคารให้ตอบโจทย์ธุรกิจร้านค้าในยุคดิจิทัล เริ่มตั้งแต่กระบวนการรู้จักและพิสูจน์ทราบร้านค้า การป้องกันการทุจริต และการกระทบยอดเงิน

นอกจากนั้น Opn ยังพร้อมส่งมอบโซลูชันที่ปรับแต่งได้ตามโมเดลธุรกิจที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโมเดลสำหรับตลาดลูกค้ากลุ่มธุรกิจ (B2B) ตลาดลูกค้ากลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (B2C) และตลาดลูกค้าธุรกิจภาครัฐ (Business-to-government หรือ B2G) อีกด้วย

  • ช่วยดูแลร้านค้า: ตั้งแต่ขั้นตอนการรู้จักลูกค้า การรับประกันภัย ปรับแต่งการตั้งค่าบัญชี การจัดการป้องกันการทุจริต แดชบอร์ด บริการเสริมและการเปิดใช้งานต่างๆ

  • จัดการธุรกรรม: ด้วยเทคโนโลยีการแปลงข้อมูลเป็นโทเคน (Tokenization) กระบวนการพิสูจน์ตัวตน การป้องกันการทุจริต การวางแผนช่องทางและจัดการธุรกรรมทางการเงิน การอนุมัติวงเงิน การหักบัญชีและการสรุปยอดเงิน และการโอนเงินออก ฯลฯ

  • เติมเต็มระบบงานหลังบ้าน: ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้ง่ายขึ้น เช่น การกระทบยอดบัญชีแบบอัตโนมัติ การติดตามความเคลื่อนไหวบัญชีของร้านค้าตลอด 24 ชม. และการใช้ระบบจำลอง (sandbox) เพื่อช่วยนักพัฒนาสามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างต่อเนื่อง

2. รวมทุกบริการด้านการธนาคารไว้ครบ

ผลิตภัณฑ์สำหรับธนาคารของ Opn Banking มีจุดเด่นในเรื่องของระบบที่สามารถแยกส่วน (โมดูลาร์) และปรับแต่งได้ตามต้องการ จึงถือเป็นโซลูชันที่เหมาะสำหรับธุรกิจร้านค้ารายใหญ่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ หรือ ISV (Independent Software Vendors) รวมถึงบริษัทสตาร์ทอัพฟินเทคต่างๆ โดยสามารถเลือกใช้งานแต่ละส่วน (component) แยกกัน หรือใช้งานร่วมกับบริการ Acquiring อื่นๆ ได้ ช่วยให้ธุรกิจปรับแต่งโซลูชันการชำระเงินของตนเองได้อย่างอิสระ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวยังรับประกันได้ว่าแพลตฟอร์มของ Opn จะสามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้ทั้งปัจจุบันและในอนาคต

3. วางรากฐานสำหรับอนาคตของแพลตฟอร์ม

โซลูชันของ Opn ช่วยให้ธุรกิจพร้อมรับมือกับปัญหาเชิงเทคนิคที่ซับซ้อนและผันผวนอยู่ตลอดเวลาได้ นั่นหมายความว่า ฟีเจอร์ของ Opn สามารถรองรับทั้งรูปแบบการใช้งานที่จำเป็น หรือแม้กระทั่งโจทย์ความต้องการใหม่ๆ ที่ธุรกิจอาจไม่เคยพบเจอมาก่อน

  • สร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว: การปรับใช้เทคโนโลยีที่ถูกสร้างไว้ให้แล้ว แทนที่จะเสียเวลาพัฒนาขึ้นมาเองตั้งแต่ต้น ส่งผลให้แพลตฟอร์มของคุณเปิดตัวสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ

  • พร้อมขยายสู่ตลาดโลก: โดยเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการเครือข่ายบัตร (card schemes) ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค รวมถึงมีช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลาย

  • เพิ่มช่องทางการสร้างรายได้: ให้ธุรกิจสามารถกำหนดราคาที่เหมาะสม และต่อยอดการเติบโตได้อย่างคล่องตัว ด้วยระบบจัดการบัญชีและร้านค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

จากประสบการณ์ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ Opn ได้ส่งมอบบริการด้าน Acquiring เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับระบบรับชำระเงินของธนาคารในไทยและต่างประเทศ ด้วยเป้าหมายที่ต้องการสนับสนุนให้ร้านค้าและลูกค้าทุกคนก้าวสู่ความสำเร็จที่หวังไว้

ทำไมจึงควรเปลี่ยนมาใช้บริการ Acquiring ของ Opn?

จากตัวเลขคาดการณ์ของ McKinsey พบว่ายอดการชำระเงินทั่วโลกในปี 2562 มีสัดส่วนกว่า 50% มาจากตลาดในทวีปเอเชีย และในปี 2563 ธนาคารในภูมิภาคเอเชียมีสัดส่วนรายได้จากบริการด้านระบบรับชำระเงินคิดเป็น 44% ของยอดรายได้รวมทั้งหมด ดังนั้น สรุปได้ว่าเทคโนโลยี AaaS ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ธนาคารและธุรกิจสามารถต่อยอดการเติบโตจากเทรนด์ดังกล่าวได้

หากธุรกิจของคุณสนใจใช้งานเทคโนโลยี Acquiring-as-a-Service สามารถสอบถามทีมผู้เชี่ยวชาญของ Opn Payments ได้ที่ ↗ ติดต่อเรา


More from Opn

เปรียบเทียบ Online Direct Debit vs โมบายแบงก์กิ้ง วิธีการชำระเงินแบบใดที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ

6 ตุลาคม 2567

เปรียบเทียบ Online Direct Debit vs โมบายแบงก์กิ้ง วิธีการชำระเงินแบบใดที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ
แนะนำ Payment Links+ โซลูชันใหม่จาก Opn Payments

29 สิงหาคม 2567

แนะนำ Payment Links+ โซลูชันใหม่จาก Opn Payments
เจาะลึกเบื้องหลังระบบเสถียรแม้ช่วงพีกกับ Director of Infrastructure ของ Opn Payments

30 กรกฎาคม 2567

เจาะลึกเบื้องหลังระบบเสถียรแม้ช่วงพีกกับ Director of Infrastructure ของ Opn Payments

Subscribe to receive the latest updates from Opn

Protected by reCAPTCHA

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อวิเคราะห์การใช้และปรับการใช้งานให้เหมาะกับท่าน เมื่อกดยอมรับหรือเข้าชมเว็บไซต์ต่อ เราถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุกกี้ของเว็บไซต์ อ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว