ในที่สุดก็ก้าวเข้าสู่ครึ่งหลังปี 2022 กันแล้ว ถือเป็นโอกาสให้แบรนด์ต่างๆ ลุกขึ้นมาเร่งเครื่อง เดินหน้าสร้างจุดแข็ง กระตุ้นยอดขายในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนสิ้นปี
การขยายตลาดและรักษาลูกค้านั้นสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเพิ่มรายได้ของแบรนด์ ธุรกิจจึงควรเข้าใจความต้องการของลูกค้าในเชิงลึกและปรับตัวให้ทันเทรนด์ต่างๆ อย่างทันควัน เพื่อให้เป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้าได้ในระยะยาว
ปัจจุบันผู้บริโภคมีตัวเลือกสินค้าให้เลือกซื้อมากมาย โดยปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจจึงตกอยู่ที่ความประทับใจต่อประสบการณ์ในการซื้อของ โดยจากโพลของ Salesforce พบว่าลูกค้ากว่า 91% มักจะเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์เดิมอีกครั้งหากพวกเขาได้รับประสบการณ์ที่ดี
แบรนด์ในยุคดิจิทัลได้หันมาใช้ฐานข้อมูลลูกค้าในการวางกลยุทธ์ธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในการผลิตสินค้า วางแผนการตลาด และออกแบบช่องทางการเช็คเอาท์ให้ตอบโจทย์ความต้องการรายบุคคล ทางฝั่งลูกค้าเองจึงคุ้นเคยกับการที่แบรนด์ที่จดจำความชอบเฉพาะของลูกค้า และมอบประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการรายบุคคล (personalization) ทั้งยังนิยมใช้บริการแบรนด์เหล่านี้มากกว่า
ดังนั้น เพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด เจ้าของธุรกิจจึงควรเข้าใจความชอบและพฤติกรรมของกลุ่มตลาดอย่างลึกซึ้ง รวมถึงปรับแต่งรูปแบบของธุรกิจให้สะท้อนความต้องการเหล่านั้น
ลูกค้าแต่ละคนย่อมมีสไตล์การช้อปและช่องทางที่เลือกใช้คนละแบบ ความแตกต่างเหล่านี้นับเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการออกแบบหน้าตาของร้านค้าออนไลน์และขั้นตอนในการเช็คเอาท์
ประสบการณ์ของลูกค้านั้นเริ่มตั้งแต่วินาทีที่ลูกค้าสัมผัสกับแบรนด์ครั้งแรก ไม่ว่าจะผ่านสินค้าหรือสื่อการตลาดต่างๆ และสิ้นสุดลงเมื่อชำระเงินสำเร็จ ร้านค้าจึงควรคำนึงถึงพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ช่องทางการสื่อสารและซื้อขายที่ลูกค้าใช้ ช่วงเวลาที่ซื้อของมากที่สุด ช่องทางการชำระเงินยอดนิยม ฯลฯ ในทุกขั้นตอนเพื่อมอบประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบบ
ขั้นตอนการเช็คเอาท์ที่เหมาะสมช่วยเพิ่มอัตราการทำออเดอร์สำเร็จได้ถึง 35.26% แต่นอกจากจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มยอดขาย ระบบการเช็คเอาท์ยังเป็นส่วนที่เปลี่ยนได้ยากหลังพัฒนาแพลตฟอร์มเสร็จแล้ว เพราะต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุนในการออกแบบและพัฒนาหน้าต่างๆ ขึ้นใหม่
ดังนั้น ธุรกิจที่ต้องการใช้การเช็คเอาท์แบบออนไลน์จึงควรออกแบบรูปแบบการซื้อและการชำระเงินที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ ควบคู่ไปกับโมเดลธุรกิจที่จะใช้ เพื่อให้พัฒนาแพลตฟอร์มตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยคำนึงถึงพฤติกรรมการจับจ่ายของกลุ่มลูกค้าของคุณเป็นหลัก เช่น ช่องทางการชำระเงิน สถานที่หรือแพลตฟอร์มที่ใช้ ระยะเวลาในการทำธุรกรรมที่เหมาะสม และอื่นๆ
เริ่มวางแผนธุรกิจจากรูปแบบการชำระเงิน ดีไซน์ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลูกค้า แล้วจึงเลือกแพลตฟอร์มที่รองรับ วิธีนี้จะช่วยเพิ่มตัวเลือกรูปแบบการเช็คเอาท์และการชำระเงินที่มากขึ้น ให้คุณคิดนอกกรอบได้มากกว่าตัวเลือกที่มีอยู่อย่างจำกัดของแต่ละแพลตฟอร์มเท่านั้น
ทุกคำตอบขึ้นอยู่กับกลุ่มตลาดของคุณ ถ้าลูกค้านิยมซื้อของในชั่วโมงเร่งด่วนและชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ลองมองหาฟีเจอร์การบันทึกบัตรสำหรับครั้งต่อไปเพื่อช่วยประหยัดเวลา หรือ ถ้าลูกค้าชอบแชทกับพนักงานขายและซื้อผ่านแชทโดยตรง ลองมองหาลิงก์ชำระเงินที่รองรับอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งและอีวอลเล็ท แทนการโอนเงินและส่งสลิปผ่านข้อความ
หากเคยได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจจากร้านหนึ่งแล้ว ลูกค้าส่วนมากก็มักจะคาดหวังประสบการณ์ที่เหมือนกันหรือดีกว่าจากแบรนด์อื่นๆ แม้จะอยู่คนละอุตสาหกรรมก็ตาม ธุรกิจจึงควรศึกษาและติดตามเทรนด์ของธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ อยู่เสมอ
เริ่มต้นจากอุตสาหกรรมใกล้เคียง เพราะการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ในตลาดนั้นๆ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่น การเติบโตของธุรกิจอาหารเดลิเวอรีออนไลน์ที่ส่งผลโดยตรงต่อความก้าวหน้าในการพัฒนาแอปพลิเคชันเรียกรถและโซลูชันโมบายล์แบงก์กิ้ง
ต่อยอดจากโซลูชันที่พร้อมใช้งาน สร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่โดยไม่ต้องลงทุนสร้างเทคโนโลยีใหม่ตั้งแต่ต้น เลือกดึงโซลูชันที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ ใช้ มาประยุกต์ให้เข้ากับสินค้าหรือบริการของคุณ
ลูกค้าคาดหวังการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ ผ่านประสบการณ์ที่สร้างสรรค์และน่าประทับใจ เห็นได้จากตลาดสินค้าเชิงประสบการณ์ (experience market) ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลก และคาดว่าจะโตขึ้นถึง 3 เท่าภายในปี 2029 ในขณะที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) และ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (virtual reality) ก็พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด รวมถึงเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านี้ ด้วยการพลิกโฉมธุรกรรมเดิมๆ ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค ผ่านการใช้เทคโนโลยีสร้างประสบการณ์แบบสมจริง เพื่อเช้าถึงลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น ช่วยเสริมสร้างจุดแข็งในสินค้าและบริการ กระชับความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า และกระตุ้นยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถึงแม้จะไม่มีหน้าร้าน ร้านค้าออนไลน์ก็สามารถใกล้ชิดกับลูกค้าได้เช่นเดียวกัน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้สัมผัสสินค้าจริงๆ แม้จะอยู่ไกลกัน ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจแฟชันและเครื่องสำอางค์หลายแบรนด์ได้หันมาใช้เทคโนโลยีทดลองสวมใส่แบบเสมือนจริง (virtual try-on) และผู้ช่วยอัจฉริยะที่แนะนำสินค้าจากการวิเคราะห์อัลกอริทึม ในฝั่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจยานยนต์ก็นำ เทคโนโลยีเฟสไทม์ (facetime) มาประยุกต์ใช้เป็นทางเลือกสำหรับการเยี่ยมชมโครงการแบบทางไกล
นอกจากนั้น อีกหนึ่งเทรนด์ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจในตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบทวีปเอเชีย นั่นก็คือ ไลฟ์คอมเมิร์ซ หรือการขายของผ่านไลฟ์สตรีมบนแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งการขายของผ่านช่องทางนี้ ยังช่วยให้ธุรกิจนำเสนอจุดเด่นของสินค้าได้ทุกซอกทุกมุมแบบเรียลไทม์ มีฟีเจอร์ถาม-ตอบกับลูกค้า และเชิญศิลปินหรือเซเลบริตี้มาร่วมพูดคุยเพื่อโปรโมทสินค้าได้อีกด้วย
เชื่อมต่อกับระบบรับชำระเงินออนไลน์ ที่ช่วยยกระดับประสบการณ์ซื้อสินค้าให้ราบรื่น ไม่มีสะดุด โดยลูกค้าจะสามารถเลือกสินค้าและชำระเงินได้ทันที ไม่ต้องรอออกไปที่ร้าน หรือต้องเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มอื่น ซึ่งช่วยให้ชั้นตอนการเช็คเอาท์สำเร็จได้ จบในที่เดียว และกระตุ้นให้ปิดการขายได้เร็วขึ้นกว่าเดิม